วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การทำงานของ Proprietary trader

การทำงานของ Proprietary trader  
ที่ผ่านมาเจอแต่กระทู้โจมตี proprietary trading โดยที่ข้อมูลเหล่านั้นล้วนแต่เป็นเรื่องคิดเองเออเองทั้งสิ้น เมื่อก่อนนี้ผมก็เคยเข้าใจว่าแผนกนี้มีข้อได้เปรียบรายย่อยทั่วไปในด้านข้อมูลทั้งวงนอกวงใน เคยเข้าใจว่าแผนกนี้ทำราคาหุ้น ฯลฯ แต่เมื่อเข้ามาทำงานแล้ว ทำให้ผมพบว่ามันไม่ใช่ สิ่งที่เราได้เปรียบรายย่อยมี 4 ข้อหลักๆคือ

1. เราจ่ายค่าธรรมเนียมในการซื้อ-ขายถูกกว่ารายย่อย(ขอย้ำอีกครั้งว่าไม่ฟรีครับ) เนื่องจากเราไม่ต้องจ่ายในส่วนค่าบริการของโบร้กเราเองเพียงแต่เสียให้ตลาดหลักทรัพย์ tfex แล้วก็หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่นสำนักหักบัญชี ซึ่งนั่นก็เป็นความจริงในการดำเนินธุรกิจอยู่แล้ว เช่น ร้านไอศครีมสเวนเซ่นไม่ต้องจ่ายค่าไฟในการเก็บไอศครีมเพราะเอาไปเก็บรวมกับวัตถุดิบของ เดอะพิซซ่าคอมปานี ทั้งสองก็เป็นบริษัทเดียวกันจึงไม่จำเป็นต้องจ่ายให้ (ถึงจ่ายก็เป็นแค่การย้ายเงินจากกระเป๋าซ้ายไปกระเป๋าขวา) เป็นต้น ซึ่งร้านไอศครีมร้านอื่นจะมาบ่นว่าสเวนเซ่นไม่จ่ายค่าไฟได้เหรอครับ

2. เรานั่งเฝ้าทั้งวัน มองจอแทบจะตลอดเวลา นั่นทำให้เราเข้าออกได้เร็วกว่ารายย่อยที่ไม่ได้เฝ้า แต่ถ้าท่านใดเทรดอย่างจริงจังนั่งเฝ้าทั้งวัน เราก็ไม่ได้ปรียบในข้อนี้

3. เราใช้บริการข้อมูลข่าวสารต่างๆ เช่น bloomberg, reuters ฯลฯ(จ่ายเดือนละประมาณ 5 หมื่นบาทต่อ 1 user) ทำให้เราสามารถหาข้อมูลข่าวสารต่างๆได้ รวมถึง software ทางสถิติ และอื่นๆ ที่สนับสนุนงานเทรดให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

4. บุคลากรที่ใช้ก็เป็นผู้มีประสบการณ์สูง หรือศึกษาด้านนี้มาโดยตรง อาจเรียกว่าเป็นความได้เปรียบทางวิชาชีพ ยกตัวอย่างง่ายๆ หลายท่านคงชอบเตะบอล บางท่านอาจเก่งแต่คงหาคนที่เก่งกว่านักฟุตบอลอาชีพยากหน่อย


จากคุณ : Inori
เขียนเมื่อ : 15 พ.ย. 52 19:15:40








       
      ความคิดเห็นที่ 1
      ผมในฐานะของ Trader คนหนึ่งจึงอยากจะมาเล่าให้ฟังกันว่าการทำงานของพวกเราเป็นอย่างไร

      การเทรดของ proprietary trading จะถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆคือ
      1. Day trade พวกนี้จะอ่านทิศทางตลาดในช่วงสั้นๆ จะมองการกระพริบของ order ในตลาดเก่ง มองออกว่าหุ้น หรือ ฟิวเจอร์ กำลังจะขึ้นก็จะซื้ออย่างรวดเร็ว หรือกำลังจะลงก็ขาย

      2. บางคนจะถืิอหุ้นหรือฟิวเจอร์ข้ามวันได้ จะเป็นเทรดเดอร์ที่ใช้ technical analysis เช่น ลากเส้นแนวรับแนวต้าน ใช้  indicator ต่างๆ ในการกำหนดจุดซื้อ-ขาย รวมทั้งการคาดการณ์ผลการดำเนินงานของบริษัทต่างๆ

      3. Arbitrage เป็นการแสวงหาประโยชน์จากความไม่สมเหตุสมผลของหลักทรัพย์ต่างๆหรือรวมทั้ง Statistical arbitrage ซึ่งต้องใช้กระบวนการทางสถิติในการสร้าง trading model พวกนี้โดยมาก position จะเป็น short - long position

      4. System trade พวกนี้จะหา criteria ที่คิดว่าเป็นสัญญาณบอกว่าหลักทรัพย์จะเคลื่อนไหวอย่างไร แล้วก็นำไปทำ back test เพื่อตรวจสอบดูผลว่าสัญญาณใดที่มีโอกาสทำกำไรได้

      การประเมินผลงาน
      ทุกๆปีจะมีการ set ผลงานเอาไว้ มีตัวชี้วัดในแง่ต่างๆ โดยผลตอบแทนของเทรดเดอร์ส่วนใหญ่จะได้รับเป็น % ของผลกำไรที่ทำได้(หลังหักต้นทุน) แต่ถ้าขาดทุนเกินกว่าที่หัวหน้ารับได้ก็จะถูกไล่ออก

      หลักๆก็มีเท่านี้แหละครับ หลายท่านอาจคิดว่าเราใช้ข้อมูลของลูกค้ามาสร้างความได้เปรียบ ซึ่งจริงๆแล้วไม่เป็นอย่างนั้นครับเพราะมีการควบคุมอย่างดี(จนน่ารำคาญ)จาก กลต อีกอย่างคือในไทยไม่ได้มีโบร้กเพียงแห่งเดียวดังนั้นถึงแม้ว่าผมจะรู้ข้อมูลซื้อขายลูกค้าของโบร้กผมเอง ก็ไม่เห็นว่าจะไปใช้ประโยชน์อะไรได้่ แต่ในใจผมคิดว่าบ้านเราน่าจะแยก proprietary trading ออกจากโบร้กไปเลยเช่นตั้งเป็นกองทุนอีกประเภทหนึ่ง หรือ hedge fund ไปเลย ผมจะได้ทำงานได้สะดวกขึ้น ไม่ต้องคอยระวังเรื่องจุกจิกที่โดนคุมแจอยู่ทุกวันนี้ รวมทั้งไม่โดนพี่น้องในบอร์ดแห่งนี้รุมป้ายสีครับ

      แก้ไขเมื่อ 15 พ.ย. 52 19:17:47
      แก้ไขเมื่อ 15 พ.ย. 52 19:16:42

      จากคุณ : Inori
      เขียนเมื่อ : 15 พ.ย. 52 19:16:03


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น